วิกฤตโควิด - 19 และเศรษฐกิจนอกระบบในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย - ผลกระทบทย่ี ืดเยือ้ และวาระการฟื้นตัว

By:
WIEGO
Date:

 

วิกฤตโควิด 19 รอบสองและข้อมูลเศรษฐกิจนอกระบบในกรุงเทพได้เปิดเผยให้เห็นว่าช่วงกลางปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเปิดประเทศรอบแรก (หลังการระบาดของโควิด 19) จนถึงกลางปี 2564 บรรดาลูกจ้างทำงานบ้าน  ผู้ทำการผลิตที่บ้าน  ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง หมอนวด ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และคนเก็บของเก่า  ต่างมีสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ลง  เนื่องจากความรุนแรงของการระบาดรอบสามได้มาพร้อมกับกฎเกณฑ์และข้อจำกัดต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

โดยได้ปรากฏข้อค้นพบดังนี้:

  • ทุกกลุ่มอาชีพ (ยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน) มีรายได้น้อยกว่าร้อยละ 40 ของรายได้เฉลี่ยที่เคยได้รับในช่วงก่อนเกิดโควิด 19 ผู้ทำการผลิตที่บ้านและหมอนวดซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ในช่วงกลางปี 2564 ทั้งสองกลุ่มมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ศูนย์บาท แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาวิจัยของวีโก (WIEGO) ก็พบอีกว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในกรุงเทพฯ มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมืองอื่น ๆ ซึ่งคนทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบได้มีการฟื้นฟูอยู่บ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงกลางปี 2563
  • ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ12 ได้กล่าวถึงสภาวะอดอยากของกลุ่มผู้ใหญ่ในครอบครัว กล่าวคือ ในปี 2564 ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่ให้ข้อมูลได้ลดการบริโภคอาหารลง โดยงดบางมื้อบ้าง หรืออดทนกินอาหารที่ไม่มีความหลากหลายในแบบที่เคยชื่นชอบ
  • ผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลว่าวิกฤตเศรษฐกิจและสุขภาพ เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต ความเครียด ความกระวนกระวายใจ และภาวะซึมเศร้า ของพวกเขา
  • ในขณะที่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในอัตราสูง ทั้งในช่วงปี 2563 และ 2564 แต่มีผู้ให้ข้อมูลเพียงร้อยละ 30 ได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงที่ทำการศึกษา 
  • ข้อค้นพบในหลายประการยืนยันว่า ในปี 2563 และ 2564 โครงการช่วยเหลือทางการเงินของประเทศไทยประสบความ สำเร็จในการเข้าถึงแรงงานนอกระบบ แม้ว่าโครงการดังกล่าวมิได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่แรงงานข้ามชาติ ผู้ให้ข้อมูลก็ยังกล่าวว่าการช่วยเหลือทางการเงินครั้งนี้มีประโยชน์ในการใช้ซื้ออาหารและของใช้จำเป็นพื้นฐาน แต่หลายคนก็กล่าวว่าเงินช่วยเหลือนี้ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเร่งด่วนอื่นๆ และไม่ได้จัดให้เพื่อใช้เป็นทุนในการฟื้นฟูอาชีพ 
  • ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ20 กล่าวว่าได้รับเงินกู้จากรัฐ ถึงแม้เงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเป็นสิ่งที่ต้องการยิ่ง แต่หลายคนก็กล่าวว่าพวกเขาเข้าไม่ถึงเงื่อนไขการเป็นผู้ที่สามารถกู้เงินตามโครงการเงินกู้ของรัฐได้
  • ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 88 บอกว่าในช่วงกลางปี 2563 จนถึงกลางปี 2564 พวกเขาต้องรับมือกับสถานการณ์วิกฤต โดยการลดมาตรฐานการดำเนินชีวิตและใช้เงินออมที่มีอยู่จนหมด รวมถึงลดการบริโภคในรายการที่ไม่ใช่อาหาร (53%) กู้ยืมเงิน (51%) ลดการบริโภคอาหาร (47%) และใช้เงินออม (44%) ในช่วงปี 2563 และ 2564 การกู้ยืมเงินได้กลายเป็นเรื่องปกติมากกว่าการใช้เงินออม เพราะเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่ได้ถูกใช้ไปจนหมดแล้ว
Region
Informal Economy Theme
Informal Economy Topic
Resource Type
Language